วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2563

สายพันธุ์​ควายไทย





สายพันธุ์​ควายไทย


       ในโลกเรามีสายพันธุ์ควายอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ "ควายป่า" และ "ควายบ้าน" เฉพาะควายบ้านนั้น 
สามารถแบ่งออกไปได้อีก 2 ประเภท ดังนี้ คือ "ควายปลัก" (Swamp Buffalo) กับควายแม่น้ำ (River Buffalo) ควายปลักอยู่ในแถบประเทศไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย พม่า เวียดนาม กัมพูชา และลาว 
ส่วนควายแม่น้ำนั้น จะพบได้ในประเทศอินเดีย ปากีสถาน อียิปต์ ยุโรปตอนใต้ ควายชนิดนี้เป็นควายนม 
ชอบน้ำสะอาด ไม่ชอบลงโคลน

ควายปลัก



ชื่อท้องถิ่น: ควายปลัก กระบือปลัก

ชื่อสามัญ: ควายปลัก (Swamp Buffalo)

ชื่อวิทยาศาสตร์: Bubalus  bubalis



ถิ่นกำเนิดและแหล่งที่เลี้ยง


    ควายปลักในทุกประเทศถือว่าเป็นพันธุ์เดียวกัน ไม่สามารถแยกเป็นพันธุ์ได้เด่นชัด แต่แตกต่างกันในลักษณะ

ภายนอกเล็กน้อย เนื่องจากถิ่นที่เลี้ยง สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และการคัดพันธุ์ของคนในท้องถิ่นที่ติดต่อกันมา

ยาวนาน ทำให้สี ขนาด และเขาอาจแตกต่างกันแม้ในถิ่นที่อยู่อาศัยเดียวกัน 

       ควายมีศักยภาพในการผลิตเนื้อที่ดีเป็นสัตว์ที่มีประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์จากอาหารหยาบและอาหาร

คุณภาพต่ำได้ดีกว่าวัว ทั้งนี้เนื่องจากความแตกต่างทางด้านสัณฐานวิทยา (Morphology)  สรีระวิทยา (Physiology)และคุณสมบัติของจุลินทรีย์ในกระเพาะหมักที่เอื้อประโยชน์ในการนำเอาสารอาหารไปเปลี่ยนเป็นเนื้อ

ได้ดีกว่า

ลักษณะประจำพันธู์สัตว์​

  - สีเทาดำ รูปร่างบึกบึนเป็นสี่เหลี่ยม ท้องใหญ่ ตากลมเด่นชัด หน้าสั้น ปากกว้าง เต้านมเล็ก เขายาวโค้ง มีบั้งคอสีขาวรูปตัววี (Chevron) มีพฤติกรรมชอบนอนแช่ในปลักโคลน น้ำหนักเฉลี่ยเมื่อโตเต็มที่ 450 - 500 กิโลกรัม พ่อพันธุ์บางตัวพบว่ามีน้ำหนักมากกว่า 1,000 กิโลกรัม

ลักษณะสำคัญทางเศรษฐกิจ:

  น้ำหนักแรกเกิด​ ​ 33  กิโลกรัม

น้ำหนักหย่านม

  (240 วัน)162  กิโลกรัม

อัตราการเจริญเติบโต

  505 กรัม/วัน

ช่วงห่างการให้ลูก

  540  วัน

อายุเมื่อให้ลูกตัวแรก

  4.6  ปี

การนำไปใช้ประโยชน์​

 - เพื่อบริโภคเนื้อ
 - เป็นรายได้หลักหรือรายได้เสริมจากการทำการเกษตรอื่นๆ
 - เพื่อสร้างอาชีพเสริม
-  ใช้ประโยชน์เป็นแรงงานทางการเกษตร การขนส่ง การท่องเที่ยว
หน่วยงานที่ขอขึ้นทะเบียน:  
ขอขึ้นทะเบียน:พันธุ์สัตว์พื้นเมืองประจำถิ่น



ควายแม่น้ำ 



บางครั้งเรียก "ควายแขก" เพราะมีการเลี้ยงควายชนิดนี้มากในประเทศอินเดียและปากีสถาน มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Bubalus bubalis จำนวนโครโมโซม 2n=50 ควายแม่น้ำจัดได้ว่าเป็นควายนม เนื่องจากมีขนาดเต้าใหญ่ และให้น้ำนมประมาณ 5 ลิตร/วัน

ลักษณะทั่วไป

 ข้อมีผิวหนังค่อนข้างดำ ขนยาว โครงสร้างใหญ่ เหนียงที่หน้าอกยาน ปลอกหุ้มลึงค์หย่อนยาวเหมือนโคซีบู

ควายแม่น้ำแบ่งเป็นกลุ่มได้ 5 กลุ่ม ดังนี้ (NRC, 1981)

- กลุ่ม Murrah มีพันธุ์ Murrah, Nili/Ravi, Kundi

- กลุ่ม Gujarat มีพันธุ์ Surti, Mehsana, Jafarabadi

- กลุ่ม Uttar Pradesh มีพันธุ์ Bhadawari, Tarai

- กลุ่ม Central Idian มีพันธุ์ Nagpuri, Pandharpuri, Manda, Jerangi, Kalahandi, Sambalpur

- กลุ่ม South Indian มีพันธุ์ Toda, South Kanara



ควายเผือก



    ควายเผือกหรือควายด่อนนี้ไม่ได้พบเจอกันบ่อยนัก ซึ่งถ้ามีก็แค่ฝูงละไม่เกิน 1 ตัวเท่านั้น แต่ที่นี่กลับมีควายด่อนอยู่รวมกันเป็นฝูง และที่น่าสนใจคือพวกมันเป็นครอบครัวเดียวกัน
ควายเผือก คือ ควายที่มีความผิดปกติทางด้านยีนส์จนส่งผลให้สีของหนัง ขน และปลายจมูกมีสีขาวอมชมพูซึ่งจะพบได้เพียงร้อยละ 1 เท่านั้นซึ่งยีนส์ด้อยนี้สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม ซึ่งจะเห็นได้ว่าลูกที่ได้จากพ่อและแม่เป็นควายเผือก ก็มีโอกาสสูงที่ลูกจะเป็นควายเผือกด้วย
  เจ้าด่อนและเจ้าเฒ่า คือพ่อแม่ของครอบครัวนี้ พวกมันถูกนำมาเลี้ยงที่นี่เมื่อหลายปีก่อนเพื่อเป็นการอนุรักษ์ควายไทยพื้นบ้าน ทาง อบต.บุ่งหวายได้แบ่งพื้นที่ 19 ไร่ของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลบุ่งหวายให้พวกมันได้ใช้ชีวิตอย่างอิสระ










12 ความคิดเห็น:

  1. เป็นข้อมูลที่ดีค่ะ ได้ความรู้เรื่องควายเยอะมาก

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ

    ตอบลบ
  3. ว้าว ได้ความรู้รู้เกี่ยวกับสายพันธ์ควายไทยเยอะเลยค่ะ

    ตอบลบ